เทศบาลตำบลบ้านเหล่า จ.เชียงราย

วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น

พัฒนาการศึกษา  ประชามีสุข  ทุกชุมชนเข้มแข็ง
สิ่งแวดล้อมปลอดภัย  ยึดหลักธรรมาภิบาล

 

นโยบายและแนวทางการบริหาร


1. ด้านเศรษฐกิจ 

 เร่งรัดจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (ตามสโลแกนที่กระผมได้กล่าวไว้ว่า   “น้ำไหล ไฟสว่าง รู้แนวทางกำจัดขยะ”) โดยการวางระบบท่อส่งน้ำ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดของพืช ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่การเกษตรให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเต็มศักยภาพ  ดังนั้น เมื่อเรามีน้ำเพียงพอกับการอุปโภคบริโภคแล้ว เราจะคืนแหล่งน้ำ เช่น อ่างห้วยกั้ง ให้กับเกษตรกรตามความประสงค์แต่แรกที่เราทำเขื่อนนี้ไว้เพื่อการเกษตร  ดังนั้น เกษตรกรจะได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนี้และเราจะวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบในทุกกิจกรรมตามแนวทางพระราชดำริ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกัน จะดำเนินการกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุน โดยจะพยายามลดต้นทุนด้านภาษีต่างๆให้ถูกลง การส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งเสริมอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

2. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ

- จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาด้านต่างๆของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านเหล่าให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน อาทิเช่น ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง เครื่องกระจายเสียง เสียงตามสาย ที่ต้องเพียงพอและทั่วถึง

- จัดให้มีป้ายถนน ป้ายซอยตามถนนในเขตเทศบาล

- จัดสร้างรางระบายน้ำ ลำเหมืองสาธารณะเข้าสู่พื้นที่เกษตรกร

- จัดโครงการขุดลอกลำห้วยและทำพนังกั้นน้ำในจุดที่สำคัญ

3.   ด้านสิ่งแวดล้อม

- ส่งเสริมให้มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักจากขยะเปียกและขยะทั่วไป

- จัดทำโครงการนำขยะทุกประเภทมา รีไซเคิล หรือ การแปรรูปใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะลงให้ได้มากที่สุด

- โครงการนำเศษไม้ใบไม้มาใช้ประโยชน์ เพื่อลดการเผาลง ป้องกันฝุ่นควันมลพิษทางอากาศ

- โครงการบ้านสะอาดหน้าบ้านน่ามอง เพื่อให้ชุมชนในเขตเทศบาลเป็นเมืองน่าอยู่

4.  ด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการชุมชน

- ให้ความสำคัญในการคุ้มครอง และให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ โดยการจัดให้มีโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์และตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล

- คุ้มครองและจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและทั่วถึง

5.  ด้านการศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

- ส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนให้มีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาต่ออย่างมีคุณภาพ โดยการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย ให้ได้รับสารอาหารครบทุกหมู่ สนับสนุนอาหารกลางวัน และการเดินทางทั้งไปและกลับ

- ส่งเสริมและเสริมสร้างความรู้ทางด้านภาษาให้เด็กได้มีความรู้ความสามารถในการพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อปูพื้นฐานให้เด็กมีความคุ้นเคยและมีความรู้เทียบเท่ากับเด็กที่อยู่ในเขตเมืองได้

- ส่งเสริมให้เด็กฝึกฝนทางด้านกีฬาในทุกๆประเภท เพื่อเพิ่มความมีระเบียบวินัยและความอดทนให้เป็นนักกีฬาที่ดีได้ในอนาคต

- ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนผู้สูงอายุ 

- ส่งเสริมและฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การแสดงดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ รวมทั้งเอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย ภาษาและอื่นๆ

6. ด้านสาธารณสุข

- ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุ โดยการจัดให้มีทีมกู้ชีพและรถเคลื่อนที่เร็ว เพื่อรับส่งผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาล

- ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตที่ดีและเข้มแข็ง ด้วยโครงการการออกกำลังกายของกลุ่มต่างๆ ในช่วงเช้าและเย็น อาทิเช่น โครงการปั่นจักรยาน โครงการเยี่ยมผู้สูงอายุ โครงการเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง โครงการอบรมธรรมะชำระจิตใจ

- โครงการร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย

- โครงการพร้อมใจป้องกันโรคติดต่อ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อออกจากบ้าน ในช่วงโควิด 19 ระบาด และพร้อมสนับสนุนวัคซีนให้แก่ประชาชน

7.  ด้านระบบสารสนเทศ (ไอที)

พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการบริหารจัดการและการบริการประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งทางภูมิปัญญา ก่อให้เกิด ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน บนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น 

- การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาทดแทนหรือปรับปรุงระบบงานปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น 

  - การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการ เป็นการพัฒนาการให้บริการของท้องถิ่นให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ โดยการ บูรณการการให้บริการต่าง ๆ 

- การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์งานท้องถิ่นเพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้าน ต่าง ๆ ของท้องถิ่น 

- การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการพัฒนาด้านสังคมของท้องถิ่น จัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานสำหรับการให้บริการด้านสังคม ด้านสาธารณสุข ความจำเป็นพื้นฐานด้านชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น 

- การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อการทำงานภายใต้วัฒนธรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งหนึ่งที่จะมี ความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ 


         
© 2015 เทศบาลตำบลบ้านเหล่า
259 หมู่ 4 ต.ทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย 57350    Best resolution 1024 * 786 or higher
จัดทำโดย นายชัยณรงค์ โสภา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ