เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงชีวิตอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก
เทศบาลตำบลบ้านเหล่า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 มาตรา 50(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชนผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส เทศบาลตำบลบ้านเหล่า ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริฯ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริฯ ประจำปี 2568 “กิจกรรมผักสวนครัวรอบรั้วกินเอง” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนโดยทั่วไปในเขตเทศบาลตำบลบ้านเหล่า มีการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักการของความพอเพียงต่อไป
วัตถุประสงค์
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนโดยทั่วไปในเขตเทศบาลตำบลบ้านเหล่า มีการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักการของความพอเพียง ความพอดี การใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตในความไม่ประมาท ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่า เกิดรายได้
2 เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไป สำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และตระหนักถึงความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีแหล่งอาหารไว้บริโภคในราคาถูก ลดรายจ่ายในครัวเรือน
4 เพื่อให้เกษตรกรและกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการพัฒนาเป็นกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนต้นแบบและสร้างเครือข่ายในชุมชน
5 เพื่อเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร การจัดชุมชนให้น่าอยู่และเข้มแข็ง
เป้าหมาย
เกษตรกร ผู้สูงอายุ เด็กเยาวชน สตรีและประชาชนผู้สนใจในชุมชน และพนักงาน เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลบ้านเหล่า ฯลฯจำนวน 70 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1 ประชาชนโดยทั่วไปในเขตเทศบาลตำบลบ้านเหล่า มีการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักการ ของความพอเพียง ความพอดี การใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตในความไม่ประมาท ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ มีคุณค่า เกิดรายได้
2 ประชาชนโดยทั่วไป สำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และตระหนักถึงความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3 ประชาชนมีแหล่งอาหารไว้บริโภคในราคาถูก ลดรายจ่ายในครัวเรือน
4 เกษตรกรและกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการพัฒนาเป็นกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนต้นแบบและสร้างเครือข่ายในชุมชนต่อไป
5 เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเกิดการขับเคลื่อนขยายผล จัดชุมชนให้น่าอยู่และเข้มแข็ง